วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พืชอาหารพื้นเมืองที่ค้นพบ

พืชอาหารพื้นเมืองที่ค้นพบ


ลำดับ
ชื่อสามัญ
ชื่อพื้นเมือง
ชื่อวิทยาศาสตร์
ลักษณะวิสัย
ถิ่นที่อยู่
การใช้ประโยชน์
1
ค้อ
ค้อ
Livistona speciosa Kurz
ปาล์ม
ป่าดิบแล้ง
ลูกค้อและยอดค้อรับประทานได้
2
มะส้าน
ส้าน
Dillenia aurea Sm. Var.  aurea
ไม้ต้น
ป่าดิบแล้ง
ผลรับประทานได้
3
บอน
บอน
Colocasia esculenta (L.) Schott.
ไม้ล้มลุกน้ำ
เต็งรัง
ลำต้น ใบอ่อน แกงส้มปลา หลามบอน
4
พลับพลา
คอมดง
Microcos tomentosa Smith
ไม้ต้น
ป่าดิบแล้ง
ผลแก่รับประทานได้
5
ไผ่หก
กอหก
Dendrocalamus hamiltontt Ness
หญ้า
ป่าดิบแล้ง
หน่อรับประทานได้
6
มะหวด
หวดป่า
Lepisanthes rubiginosa Leenh.
ไม้ต้น
ป่าดิบแล้ง
ผลรับประทานได้

 ค้อ
 บอน
 คอมดง
 กอหก
หวดป่า

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ครูแห่งท้องนา

ชาวนาญี่ปุ่นผู้มีจิตวิญญาณแห่งนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม







เรียนรู้พืชจากเด็กๆ


เด็กๆกับความรู้ด้านพืชอาหารท้องถิ่น
                รุ่งเรือง  สารวิจิตร
                                                        ครูผู้ช่วย โรงเรียนบ้านนาลึ่ง อ.นาแห้ว จ.เลย
               
          เด็กๆมักตื่นเต้นดีใจเสมอเมื่อได้ออกไปนอกห้องเรียน เพื่อเรียนรู้และสำรวจโลกกว้าง การสำรวจพืชในท้องถิ่นก็เช่นกัน เราจะได้เรียนรู้อะไรอีกมากมายจากเด็กๆ เพราะความรู้ในโลกนี้มีมากมายนัก ยากที่ใครจะเรียนรู้ได้เจนจบครบทุกศาสตร์  มนุษย์ผู้ฉลาดจึงควรแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว ทั้งกับมนุษย์ พืช สัตว์และอื่นๆ ด้วยท่าทีที่เคารพและถ่อมเนื้อถ่อมตัว โดยรู้เท่าทันว่าเราอาจฉลาดบางเรื่องและยังโง่ในบางเรื่อง

         
         
          เด็กในชนบทมักจะผูกพันกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว ทั้งโดยทางตรงและโดยทางอ้อม พวกเขาเรียนรู้เรื่องการดำรงชีวิตจากผู้ใหญ่ จากเพื่อนๆ และจากการใช้ชีวิตจริงในธรรมชาติ  การต้องติดตามผู้ใหญ่เพื่อไปช่วยทำงานในไร่-นา การไปท่องเที่ยวเล่นสนุก ตามป่า เขา ลำเนาห้วย กิจกรรมเหล่านี้ย่อมเกิดการเรียนรู้ที่ชัดเจน เห็นเป็นรูปธรรมมากกว่าการกางตำราอ่านในห้องเรียนแคบๆ


          วันนี้ก็เช่นกัน เด็กๆพาข้าพเจ้าเข้าไปสำรวจพืชอาหารในป่าต้นน้ำห้วยกวาง ซึ่งเป็นหนึ่งในต้นน้ำของแม่น้ำเหือง  ภาษาถิ่น เรียกต้นน้ำว่า  “ขุน” เพราะฉะนั้นต้นน้ำแห่งนี้จึงเรียกว่า “ขุนเหือง”  พืชที่เด็กๆรู้ส่วนมากจะเป็นพืชอาหารจำพวกผลไม้ป่า เช่น มะขามป้อม   หมากหวด (ใบมีลักษณะเหมือนใบลำไย)   หมากคอม   หมากไข่ปู (ลูกสีส้มๆ เปลือกขาวๆ คงจะเหมือนไข่ปู)  หมากขามกาง (กินลูกสุกสีดำๆ จะออกหวานๆ และเมื่อแลบลิ้นออกมาจะมีสีม่วง)  ต้นหวาย  ต้นแฮ้วฟาน  ต้นแขม (ดอกใช้ถักเป็นไม้กวาด) หมากตอกแตก  ใบส้มกบ (กินกับเมี่ยง)  หมากส้าน (ผลเป็นกลีบๆ รสเปรี้ยวๆอมฝาด) หมากส้านแคง (เหมือนหมากส้าน แต่ลูกเล็กจิ๋วกว่า)  เป็นต้น

                                 เด็กๆกินหมากขามกาง

          การเรียนรู้นอกห้องเรียนช่างมีความสุขเหลือเกิน เด็กๆแย่งกันพูด แย่งกันอธิบายถึงพืชอาหารสารพัดที่พวกเขารู้และเคยลองชิมมาแล้ว เดินไป พูดไป พวกเขาช่างอธิบายได้อย่างเป็นองค์รวมและเป็นธรรมชาติ  ทั้งพืช สัตว์ ภูเขา ห้วย ไร่นา หมอกก้อนขาวๆที่พวกเขาเรียกว่า “หมอกขี้ซ้าง” (มูลช้าง) ที่มักจะเกิดบนยอดภูสูง และจะมาพร้อมฝน    การเรียนรู้จากธรรมชาติ จากชีวิตจริง จากชุมชนของตนเอง จึงมีค่าเสมอ  เหนือสิ่งอื่นใดมันคือการเรียนรู้ที่จะอยู่ในสิ่งแวดล้อมและปรับตัวให้เกิดความสมดุล เพื่อความยั่งยืนของทุกชีวิตและสรรพสิ่งบนโลก และจักรวาล